ในช่วงที่สถานการณ์โควิด19 กำลังระบาดในประเทศไทย ทำให้เราคนไทยทุกคนต้องดูแลตัวเองมากขึ้น เป็นเวลามากกว่า 2 ปีมาแล้ว และหลังจากที่ได้รับการป้องกันโดยการฉีดวัคซีน ก็มีหลายคนที่สงสัยว่าวัคซีนที่ฉีดไปมีผลกับร่างกายแค่ไหน มีระดับภูมิที่ช่วยป้องกันโควิด19 ได้มากน้อยแค่ไหน และจำเป็นมั้ยที่ต้องตรวจ วันนี้ #ไปกับโปร มีคำตอบทุกข้อมากให้หายสงสัย และมารู้รายละเอียดลึกๆ จากปากศาตราจารย์ ดอกเตอร์ นายแพทย์ วิปร วิประกษิต อาจารย์หมอผู้อยู่เบื้องหลังการตรวจ COVID-19 เชิงรุกทั่วประเทศ กันแบบชัดๆ กันเลย

ผมชื่อ ศาตราจารย์ ดอกเตอร์ นายแพทย์ วิปร วิประกษิต ผมเป็นกุมารแพทย์ทางด้านโลหิตวิทยานะครับ และเป็นอาจารย์หมออยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แต่ว่าอีกบทบาทหนึ่งผมก็เป็นนักวิจัยและก็นักนวตกร ปีนี้ผมได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจากสำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งประเทศไทย และก็ได้รางวัล Innovator innovation award (National Innovation Awards 2020) จาก NIA ก็คือสำนักงานนวตกรรมแห่งชาติ ผมทำงานวิจัยและงานนวตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ เราก็มีรูปแบบการให้บริการผ่านบริษัท ชื่อบริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด เปิดมา 7 ปีแล้วครับ เป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน Biotechnology ครับ เราก็มีความมุ่งหวังว่าเราต้องการเป็นบริษัทที่เอาฐานความรู้ทางด้าน Biotech มาใช้ประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยครับ

เนื่องจากเรามีฐานของ Biotechnology อยู่แล้ว ผมเป็นแพทย์ด้วย แต่ปัจจุบันก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็จบปริญญาเอกทางด้าน Molecular medicine จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นการเอาความรู้ทางด้าน Molecular หรือทางด้าน
ระดับโมเลกุลมาใช้ในทางการแพทย์ พอกลับมาก็ทำงานวิจัยเรื่องนี้เป็นหลักเลย พอมีโควิดมาช่วงปลายปี 2019 ที่เราเริ่มได้ยินข่าว เราก็รู้ว่าอันนี้จะเป็นปัญหาระดับประเทศ และก็ระดับโลก เราก็พัฒนาเรื่องของบริการเรื่องการตรวจวินิจฉัยในระดับ Molecular หรือระดับโมเลกุล เพราะว่าไวรัสมันตัวเล็กมาก มองไม่เห็น อยู่ในระดับเป็นระดับนาโนเลย เป็นระดับอณูนะครับ เพราะฉะนั้น เราก็พัฒนาเทคโนโลยีระดับ Molecular เพื่อมาใช้ในเรื่องของการตอบโจทย์การวินิจฉัยเพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการควบคุมโรคระบาดโควิด 19 บริการของการตรวจที่เราทำก็มีหลากหลายนะครับ

มีทั้งเรื่องของบริการการตรวจโดยวิธี RT-PCR เพื่อใช้ในแง่ของการวินิจฉัยตัวไวรัส เพราะว่าตัวโควิดเป็น RMA ไวรัส เราได้พัฒนาการตรวจ RT-PCR แบบนี้ มีทั้งแบบที่เป็นวิธีมาตรฐานแบบปกติและรวมทั้งวิธีที่เป็นแบบ อัลตร้าซาส ก็คือได้ผลภายใน 70 นาที ปกติจะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงจึงจะได้ผล เราก็พัฒนาให้มันรวดเร็วขึ้น เราพัฒนาการตรวจทั้งที่มาจากตัวอย่างที่เป็นน้ำลาย จากที่เราแยงจมูก ทุกท่านก็คงเคยโดนแยงจมูก เราพัฒนาเรื่องของการตรวจตัวอย่างที่เป็น full sample คำว่า full sample ก็คือในกรณีที่เรามีความเสี่ยงจำกัดต่ำ เช่นเป็นการตรวจกรองแรงงานเราก็สามารถจะเอาตัวอย่างมารวมกัน เช่น 4 ตัวอย่างแล้วก็ตรวจ 1 ครั้ง แต่ว่าได้ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการตรวจ 4 ตัวอย่าง ทีละตัวอย่าง ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ล่าสุดเราก็น่าจะเป็น Lab แรกในประเทศที่ได้เข้าร่วมและมีผลการตรวจเป็นที่รับรองเรื่องของการตรวจโควิดในสิ่งแวดล้อม ก็คือเราเอาน้ำเสียมาตรวจ ในต่างประเทศการตรวจน้ำเสียก็เป็นหนึ่งในดัชนีสำคัญในการจะบอกว่าตอนนี้เราคุมโควิดได้ดีหรือยัง ที่เราทำอยู่น่าจะเป็นที่แรก คือเรื่องของการให้บริการการตรวจโควิดในภาชนะ ในอาหารแช่แข็ง อันนี้ก็เป็นบริษัทเอกชน น่าจะเป็นที่แรกที่ให้ บริการ ทุกวันนี้เรามีความจำเป็น ล่าสุดมีข่าวว่าผลไม้ไทยโดนตีกลับทั้งลอตเพราะว่าไม่ผ่านเรื่องการตรวจโควิดที่ประเทศจีน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะเข้ามาช่วยเรื่องของเกษตรกรของไทย อันนี้ก็คือบริการที่เกี่ยวข้องของ Molecular

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีบริการอื่น ๆ เกี่ยวกับโควิดอีก เช่นเรื่องของการตรวจ ATK แล้วก็ออกใบรับรองแพทย์ ออกใบรับรองผลให้ เพราะปัจจุบันการตรวจ ATK เป็นมาตรฐานขั้นต้น ใครจะเดินทางขึ้นเครื่องบิน ใครจะเข้าสอบ ใครจะเข้าไปดูคอนเสิร์ต ใครจะเข้าไปร่วมในงานชุมชน ชุมนุมใหญ่ ๆ เช่น งานแต่งงาน หรือว่างานเลี้ยงมีคนมาเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็เริ่มมีการเอาการตรวจ ATK เข้ามาเป็นมาตรฐานเบื้องต้น สุดท้ายก็จะเป็นเรื่องของการตรวจวัดระดับภูมิต้านทานร่างกาย ทั้งการวัดภูมิต้านทานหลังการการติดเชื้อ และการวัดภูมิต้านทานหลังการได้รับวัคซีน เพราะคนก็จะมีคำถามเยอะมากว่าเมื่อฉีดวัคซีนไปแล้วภูมิขึ้นหรือเปล่า ตอนนี้ถึงเวลาที่เราต้องฉีดเข็ม 3 เข็ม 4 เข็ม 5 หรือยัง
ปกติจะแนะนำว่าต้องฉีดอย่างน้อย 2 เข็มตามแนวมาตรฐานที่ทางกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ จริง ๆ การตรวจภูมิต้านทาน ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานที่กระทรวงต้องแนะนำ เหตุผลเพราะถ้าทุกคนในประเทศมาตรวจกันหมดเลย ทางกระทรวงก็ให้เบิกไม่ได้ แต่ว่าในส่วนตัว ผมมองว่าการตรวจระดับภูมิ จะเป็นเหมือนข้อมูลสำคัญที่จะช่วยในการไกด์เราในการแนะนำว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องฉีดกระตุ้นหรือยัง นะครับ ส่วนถ้าใครไม่ตรวจอาจจะไม่ถือว่าผิดนะครับ แต่ว่าเราก็อาจจะต้องฉีดตามเข็มที่เขาบอก

รู้ไว้ก็จะมีประโยชน์กับตัวเราเองเพราะว่าในปัจจุบันการแพทย์นี่เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคลหรือที่เรียกว่า precision medicine Precision แปลว่าตรงเป้า เฉพาะตัว ซึ่งบริษัท แอสจีมเป็นบริษัทที่ทำทางเลือก precision health มาตลอด เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เวลาที่เราจะพิจารณาเรื่องการดูแลสุขภาพ เราควรจะมีแนวทางหรือว่าพิมพ์เขียวของเราเอง
ในความคิดเห็นของผมนะครับ ตอนนี้ปัญหาของโควิดมันจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น การเป็นโรคประจำถิ่น แปลว่าเราต้องมีการกระตุ้นภูมิต้นทานของเราทุกปีคล้าย ๆ กับโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนหน้านี้ไข้หวัดใหญ่มีการฉีดวัคซีนอยู่แล้ว แต่คนทั่วไปไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีด ส่วนใหญ่เราก็จะแนะนำบุคลากรทางการแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงเยอะ เราจะแนะนำผู้สูงอายุ อายุเกิน 60 ปี และในเด็กที่อายุน้อย หนุ่มสาวส่วนใหญ่ เราก็ไม่เคยไปฉีดไข้หวัดใหญ่กัน สมมติส่วนใหญ่ก่อนหน้านั้นจะเป็นแบบนั้น
แต่ตอนนี้เราก็จะแนะนำว่าทุกคนต้องฉีด โควิดก็จะมีความแตกต่างกับไข้หวัดใหญ่นิดหนึ่ง ตรงที่ว่า 7.56 ปกติไข้หวัดใหญ่ เวลาเราติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ คนที่เป็นหนุ่มสาววัยทำงานเมื่อติดเชื้อแล้ว มักจะไม่ค่อยมีอาการที่รุนแรงถึงกับเสียชีวิต คนที่เสียชีวิตคือคนที่มีโรคประจำตัว คนที่อายุน้อยมาก ๆ หรือคนที่สูงอายุ แต่โควิดมีความแตกต่างเพราะว่าโควิดเราคงจะได้ยินข่าวว่าบางคนอายุก็ไม่เยอะ 30 ปี ไม่ได้ป่วยเป็นอะไรเลยแล้วก็แข็งแรงดี เมื่อติดเชื้อโควิดลงปอดก็มีอาการรุนแรงแล้วก็เสียชีวิตตามมา เพระฉะนั้นความแตกต่างของโควิดกับไข้หวัดใหญ่ มันอยู่ตรงนี้ว่า ปัจจุบันตัวเชื้อตัวใหม่ยังมีโอกาสทำให้เรามีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรจะได้วัคซีน ไม่ว่าจะเป็นอายุเท่าไหร่ก็ตาม ตอนนี้อายุของเด็กก็ถอยลงไปแล้ว นะครับ เมื่อเช้าที่มีข่าวประกาศว่าเด็ก 5 ขวบฉีดได้แล้วครับ ที่จริงตอนนี้ในต่างประเทศ ประเทศจีนเขาไปข้างหน้าเร็วกว่าเรามาก ตอนนี้เขาฉีดกระทั่งเด็กขวบหนึ่งแล้ว นะครับ เขาใช้วัคซีนเชื้อตาย ซึ่งมันปลอดภัยสูง เพราะฉะนั้นเด็กอายุน้อย ขวบหนึ่งเขาก็ฉีดแล้วในเวลานี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ฉีดทุกกลุ่มอายุ โอกาสที่เราจะเกิดภูมิต้านทานหมู่ก็จะมีน้อยมากครับ

จะ 3 หรือ 4 เข็มก็ตรวจได้ครับ คือการตรวจภูมิ เราตรวจได้ตลอดเวลา เพราะภูมิในร่างกายของเรามันมีความ dynamic คือมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ภูมินี้ไม่ได้อยู่ยั้งยืนยงไปตลอดกาลนานนะครับ เพราะฉะนั้นเราฉีดไป 2 เข็มเนี่ย ภูมิมันยังขึ้นอยู่ ทีนี้ขึ้นไปถึงจุดหนึ่งปุ๊บ หลังจากนั้นมันก็จะค่อย ๆ ลดลง ๆ ทีนี้อัตราในการลดลงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณกับของผม อาจแตกต่างกันแน่นอน เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องเพศหญิงชาย อายุ โรคประจำตัว และคนแต่ละคนก็จะมีความไวไม่เท่ากัน อย่างผมมีเรื่องแพ้กุ้ง หรือมีภูมิแพ้ก็จะทำให้ความไวต่างกัน เราบอกว่าคนที่ไม่เป็น คนแต่ละคนภูมิต้านทานไม่เหมือนกัน

ต้องแยกเป็น 2 แบบ ครับ เรามีทั้ง 2 ส่วน คือโดยปกติถ้าเราจะตรวจภูมิ มันจะเป็นการตรวจที่เรียกว่า IgG และ IgM การตรวจ IgG และ IgM ก็มีทั้ง 2 แบบ อีก ถ้าเราต้องการตรวจภูมิหลังจากการฉีดวัคซีน จะเป็นการตรวจภูมิที่เรียกว่า IgG ต่อโปรตีน S ในขณะที่เราจะตรวจ ถ้าสมมติว่าเราจะตรวจว่าติดเชื้อ ไม่ติด มีภูมิหรือยัง มันอาจจะมี N โปรตีนเข้ามาด้วย S โปรตีนเข้ามาด้วยผสมกัน ตอนนี้มันก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราว่า บางคนมีความรู้สึกว่า เอ๊ะ ติดหรือยัง สมมติเราไม่ได้ฉีดวัคซีน เรากลัว สมมติ ไม่รู้ว่าเราติดหรือยัง บางคนก็มโนไปเอง คล้าย ๆ ติดทิพย์ ว่าเอ๊ะวันนั้นเราไปนั่งตรงนั้น อีก 2 วัน เราไอสงสัยฉันติดหรือยัง อันนี้ก็จะมีการตรวจอีกแบบหนึ่ง แบบว่าเรารับเชื้อหรือยัง จะดูทั้ง N และ S ด้วย แต่ถ้าคนต้องการจะดูภูมิหลังการฉีดวัคซีนเราจะดู anti S คือภูมิต่อ Protein S ของไวรัสเป็นหลัก เพราะว่าตัววัคซีนทุกตัวที่เรามีในประเทศ ที่มีใช้ ไม่ว่าจะเป็นตัว NRMA หรือตัว Vector Vaccines พวกนี้เขาจะต่อต้าน S Protein เป็นหลัก

ที่ ATGenes ตรวจได้ทุกอย่าง ทีนี้เวลาเราตรวจภูมิเราจะแยกออกเป็น 2 แบบด้วย แบบที่ 1 คือการตรวจภูมิหลังการฉีดวัคซีน จะมีการตรวจเพื่อจะดูปริมาณภูมิต้านทานเชิงปริมาณ เชิงปริมาณก็ตูเหมือนว่าตอนนี้คนชอบเอามาแชร์กันในสื่อโซเชียล ของฉันมี 1,000 เธอเหลือ 600 เราเหลือ 200 หรือว่าบางคนขึ้นไปเป็น 10,000 อันนี้เป็นการวัดในเชิงปริมาณ นะครับ การวัดเชิงปริมาณมันก็เหมือน กับคุณมีแบงค์ เราอาจจะมีแบงค์เป็นฟ่อนอยู่ในกระเป๋า แต่คำถามคือ มีแบงค์พันเท่าไหร่ อาจจะเป็นแบงค์ 20 ทั้งหมดก็ได้ เพราะฉะนั้นบางคนฟ่อนใหญ่ฟ่อนเล็ก มันอาจจะไม่เท่ากัน ฉะนั้นต้องมีการวัดอีกอย่างคือการวัดในเชิงคุณภาพ คือการวัดฟังก์ชั่นของตัวภูมิต้านทาน เรียกว่า Neutralizing antibody อันนี้เป็นการมาดูว่าในกระเป๋าเรามีแบงค์พันเท่าไหร่ นะครับ อันนี้จะวัดออกมา เป็นเปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบเลยว่า เปอร์เซ็นต์ในการ อินทูบิวชั่นเรท ความสามารถในภูมิต้านทานที่จะป้องกันไวรัสไม่ให้มันเพิ่มจำนวนในหลอดทดลองเท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์ สมมติคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์เต็มคือเยี่ยมมาก ตอนนี้เราเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็จะเป็นการวัดที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก

สามารถติดต่อเข้ามาที่คลินิก ต้องจอง คือเราเน้นเรื่องความแออัด จองดีกว่า เพราะว่าทำสล๊อต คือ เราไม่เจอใคร เราไม่อยากรับ walk in ถ้ามาออกัน ทุกคนที่มาก็จะไม่ happy ทุกคนก็จะเกรงว่า ฉันจะมาติดตรงนี้เอง ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ต้องการจำนวนมาก เราค่อย ๆ ทยอยกันมาในแต่ละช่วงเวลา ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคน
สำหรับใครที่สนใจอยากตรวจ COVID-19 แบบ Antigen Test Kit (ATK)พร้อมใบรายงานผลตรวจ ,แบบ Rapid Antigen Test และการตรวจวัดระดับภูมิ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ATGenes บริษัทฯ ที่เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล ลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 วัน ก่อนวันเข้ารับบริการที่ https://shop.line.me/@atgenes หรือ โทร 080-556-2238 , 061-016-7461
Location : https://goo.gl/maps/casK4VkVVUMEoMQw5